top of page
Writer's pictureyuwarat chanawongse

ฟิลเตอร์ยุค Analog สำหรับห้อง telecine

ในยุคที่การถ่ายทำยังเป็นระบบฟิล์ม

มีการใช้เทคนิคมากมายในการถ่ายทำภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา มิวสิควิดีโอ

ห้องโพสต์ก็เช่นกัน


ของเล่นในห้องแก้สีโพสต์สมัยนั้นไม่ใช่ฟังก์ชันเอฟเฟกต์มากมายอะไรเหมือนเช่นในสมัยนี้

สำหรับห้องเทเลซีน (เครื่องแก้สี ในสมัยนั้น) มีของเล่นที่ใช้สำหรับตัวสแกนเนอร์ฟิล์มที่เอาไว้เล่นอยู่อย่างนึง นั่นก็คือ ฟิลเตอร์ black promist และ white promist

ใช้เพื่อกระจายแสงให้ดูฟุ้งขึ้น ภาพดูซอฟท์ลงตามความต้องการของลูกค้า

ซึ่งอาจจะเป็น ผู้กำกับ ตากล้อง โปรดิวเซอร์หรือลูกค้าก็ได้

แต่ส่วนใหญ่ในงานทั่วไป จะใช้ black pro-mist ไม่เกิน 0.5

(มีเบอร์ 0.25, 0.5, 1, 1.5 และ 2 ถ้าจำไม่ผิด)

เพื่อให้ภาพดูละมุนมากขึ้น ผิวตัวแสดงดูเรียบเนียนขึ้น

(แน่นอน สมัยนั้นไม่มีเบลอเฉพาะจุดในโปรแกรมแก้สี ต้องไปทำในห้องคอมโพสิตอย่างเดียว)

ส่วน white pro-mist ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้

เนื่องจากการกระจายแสงจะรุนแรงกว่า คอนทราสแรงกว่า


แต่ก็มีงานอยู่ประเภทหนึ่งที่ชอบใช้ฟิลเตอร์ตัวนี้

นั่นก็คือ MV

งาน MV ในสมัยนั้นต้องการสร้างภาพให้มีเอกลักษณ์และแตกต่างจากชิ้นงานอื่นๆ

ให้อารมณ์ภาพ ไปทางเดียวกับอารมณ์เพลง

ผู้กำกับ มิวสิค วิดีโอ ในสมัยนั้นบางคน เลยชอบเล่นกับฟิลเตอร์ด้วย

นอกจากที่เล่นกับสีแล้ว

การทำงานในห้องแก้สี โดยปกติจะคิดราคาเป็นรายชั่วโมง

แต่ผู้กำกับท่านเหล่านี้ก็ยังยินดีจ่ายค่าทดลองเล่นกับชิ้นงานจนกว่าจะพอใจ

ซึ่งปกติแล้วไม่ค่อยเกิน 1 ชั่วโมง

เนื่องจากคัลเลอร์ลิสต์ต้องช่วยลูกค้าควบคุมงบประมาณในการทำงานด้วย

และเพราะการทำงานในสมัยนั้นมีชั้นการทำงานอย่างจำกัดและมีการเรียงลำดับการทำงานไว้ให้แล้ว

คัลเลอร์ลิสต์ต้องมีขั้นตอนในหัวแล้วว่าต้องทำอะไรบ้างก่อนเริ่มงาน


ตัวอย่างลิงค์เพลง "ผิดไหม" นี้เป็นตัวอย่างชิ้นงานที่เล่นฟิลเตอร์ตัวที่หนักสุดเพลงหนึ่งของห้องเทเลซีน

และเป็นตัวที่ไม่ค่อยมีใครเลือกใช้สักเท่าไหร่

นั่นคือ white per-mist 2 ซึ่งเป็นเบอร์สูงสุดที่ห้องเทเลซีนจะมีให้

การควบคุมบาลานซ์สี จะแตกต่างจากภาพปกติอยู่สักหน่อย

แต่การควบคุมการคีย์สีนี่จะยากมาก

เนื่องจากฟิลเตอร์จะมีความฟุ้งเยอะ

ทำให้เวลาคีย์ต้องคอยระวังมากๆ

และ MV ที่ถ่ายด้วยฟิล์มในสมัยนั้นจะทำการแก้สีฟุตเทจทั้งหมดที่มีก่อนทำการตัดต่อ

ทำให้คัลเลอร์ลิสต์ไม่สามารถทราบได้เลยว่า ช่วงไหนที่จะใช้

โดยเฉพาะเทคยาวๆ ที่แสงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็ต้องคอยเกลี่ยแสงให้ด้วย

เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั้งหมดของฟุตเทจที่ถ่ายมา

ภาพที่ถ่ายมาก็เป็นสีธรรมชาติ คล้ายๆ กับการถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลในยุคนี้

ดังนั้นสีทุกชิ้นที่อยู่ในงานนี้คือการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด


ถ้าจะเปรียบการเล่นฟิลเตอร์ในยุค เทเลซีน มาเป็น การแก้สีแบบดิจิตอลในยุคนี้

ก็คงเปรียบได้กับเอฟเฟกต์ gaussian blur ในโปรแกรม DaVinci Resolve

ซึ่งเราสามารถปรับค่าได้อย่างอิสระในยุคนี้


ความสนุกของการทำ MV ในสมัยนั้นก็คือ การได้ลองเล่นสิ่งใหม่ๆ กับลูกค้า

ยิ่งเล่น ยิ่งแก้สียาก แต่ก็ยิ่งสนุก

ทำให้เรามีไอเดียใหม่ๆ มากขึ้น

เมื่อเรามีประสบการณ์มากขึ้น มีงานมากขึ้น ลำดับชั้นงานสูงขึ้น

เราจะมีไอเดียในการสร้างสรรค์การทำสีได้มากขึ้น

ไม่จำเป็นว่าต้องเป็น look ของที่ไหน ของใคร

ถ้าเรารู้หลักการ เราก็จะทำได้ทุกอย่าง

ไม่ยากเลย (แต่ต้องขยันและพยายาม)


อยากเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ที่อยากทำงานด้านนี้

นอกจากจะขยัน เอาใจใส่และพยายามแล้ว

ความอดทน รับผิดชอบ ใส่ใจเนื้องาน แปลสารจากลูกค้าได้ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการทำงานด้านนี้




Filter for colour correction in analog era (telecine)


Long long time ago,

when we still shooting the movies on film.

There are so many techniques of shooting movies, TVCs, documentary or MV.

Post production house also.


In the colour correction suites that we called "telecine suite" have not much things to play around like today's.

There are some telecine's toys to play with, for example, black-promise and white pro-mist filter which is not often use because we can do some kind like this in the compositing suite too.

(Maybe we can compared these kind of filters as the gaussian blur's effect in the today's DaVinci Resolve program.)

So, most of the clients decided to leave the original footages clear and do some effects in another process.

But, there are some extra jobs like the MV would like to make the images looks special.

They wants to make somethings looks different than clean normal pictures, so, colour correction is very necessary for them.

Sometimes the very strong filter like white pro-mist had been used for extra need and make the footage goes well with the song's emotional.

When we choose to put some filter for the telecine scanner, the way of technical balancing will be a bit changed.

At that time, the machine was not very powerful as today, so, with the limited and fixed function layers, the colourist need to have the process in their head before start their jobs.

And also need to well check for the key of colour.


Very challenging for junior colourist but also very good practice.



This job I have done for 15 years ago when I was a junior colourist at Soho Asia Bangkok, Thailand. I was using the white 2.0 pro-mist filter on the Spirit Dacine telecine scanner. Challenging me so much at that moment.



202 views0 comments

Comments


bottom of page