top of page
Writer's pictureyuwarat chanawongse

DIT ทำอะไรบ้าง(What Does A DIT Do )

โดย Ryan Charles April 26, 2019



เผยหน้าที่ DIT จาก image control ถึง data wrangling

คนท่ัวไปจะนึกถึงหน้าที่ของ DIT ได้กว้างแค่ไหนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่สัมผัสงานนี้ของแต่ละคน

DIT หรือ Digital Imaging Technician ในทางเทคนิคแล้วเป็นชื่อตำแหน่งงานใน IATSE Local 600 (Cinematographers Guide) ถึงแม้ว่าอีกหลายๆ คนก็เรียกตัวเองว่า DIT ด้วยก็ตาม


งานนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกกล้อง ไม่ใช่โพสต์โปรดักชัน (แม้ว่าจะมีส่วนคล้ายกันมากก็ตาม)

DIT จะทำงานร่วมกับช่างภาพ (Cinematographer) เพื่อรับประกันคุณภาพของภาพที่ออกมาและลุคงานที่เป็นศิลปะตลอดกระบวนการถ่ายทำ เป็นงานที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล และต้องไม่เข้าใจสับกันระหว่าง

Data Wrangler ที่ปกติแล้วจะเป็นคนจากห้องโพสต์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดึงและสำรองฟุจเทจจากการถ่ายทำ ในขณะที่หน้าที่ DIT อย่างเป็นทางการ คือ การจัดการสื่อ จัดเก็บและสำรองข้อมูล

สิ่งสำคัญก็คือ ต้องเข้าใจว่า DIT จะมีบทบาทหน้าที่ทางด้านงานศิลปะมากกว่าและทำงานควบคู่กับ DP มากกว่า Data Wrangler


เป็นที่เข้าใจกันว่าหน้าที่งานอย่างเป็นทางการที่จะใช้ DIT อย่างเป็นวงกว้างในตลาดแรงงาน ก็คือ งานสำคัญทั้งหมดในการจัดการสื่อที่ถ่ายมา ( ถึงแม้ว่าเราจะต้องคำนึงถึงคุณภาพของภาพด้วยก็เถอะ ) แล้วยังพุ่งเป้าไปยังเรื่องราคาประหยัดแบบอินดี้ๆ อีกด้วย


ด้วยเหตุนี้ Ariel Carson-Sinelnikoff ผู้กำกับชั้นปีที่สามของ Feirstein Graduate School of Cinema ใน Brooklyn ใจดีพอที่ใจให้เราใช้ภาพยนตร์วิทยานิพนธ์ของเธอชื่อ CATFIGHT เป็นพื้นที่ทดลองสำหรับบทความนี้ ดังนั้น มาดูกันเถอะว่า การตั้งค่าของ DIT เป็นอย่างไรเและกระบวนการทำงานเมื่อต้องรวมอุปกรณ์ และผลงานที่ดีที่สุด ภายใต้งบประมาณงบมาณแบบหนังสั้น


เพื่อความเข้าใจมากขึ้น อยากให้ดูวิดีโอคลิปนี้ก่อน แล้วค่อยอ่านบทความต่อไป


การเซ็ต DIT Station

แรกสุดเลยที่ต้องทำคือ หาจัดหาพื้นที่ทำงานที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการคุยกับ AD และโลเกชันมานาเจอร์โดยตรง โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนชอบที่ทางที่สันโดษ มั่นคงและลึกลับนิดหน่อย จะดีมากถ้ามีสักที่หนึ่งในกองถ่ายที่ผู้กำกับ ตากล้องและโปรดิวเซอร์สามารถเข้ามาดูฟุตเทจได้ทันที แต่ในขณะเดียวกัน ก็อยากให้ตรงนั้นอยู่ห่างจากผู้คนอื่นๆ ในเซ็ตนั้นเพื่อให้เราโฟกัสกับงานได้

นอกจากนั้นยังมีผู้กำกับบางคนที่ไม่อยากให้นักแสดงของพวกเขาเห็นตัวเองบนเดลี่ (dailies) ดังนั้นการซ่อนตัวไว้ น่าจะเป็นเรื่องง่ายเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ หากจะมีเหตุผลบางอย่างที่ผู้กำกับอยากเชิญนักแสดงสักคนสองคนมาดูเดลี่ (daily) แล้ว จะได้ความรู้สึกสุดพิเศษเหมือนพวกเขากำลังได้รับเชิญให้เข้ามายังพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ขนาดนั้นเลยทีเชียว


จะยอดเยี่ยมมากเลยถ้ารถเข็นของคุณเลอเลิศ ( ฉันก็แอบอิจฉาเหมือนกัน ) แต่ทุกวันนี้ DITs มาในรูปบบและขนาดที่แตกต่างกัน แต่ถ้าคุณมีห้องประจำเหมือนกับที่เราเคยมี ( 5 วันในที่เดียวในห้องที่กว้างขวางสำหรับการทำงาน ) มีโต๊ะสองโต๊ะสำหรับทำงานให้สำเร็จนั่นก็เป็นเรื่องดี อย่าลืมปลักสามตาและอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากที่ไว้ใจได้ และเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้าจากร้านยี่สิบบาทมาไว้ด้วยก็เป็นความคิดที่ไม่เลวทีเดียว


ท้ายที่สุด เราอาจจะต้องการสร้างบรรยากาศอีกเล็กน้อย จะสร้างอาณาเขตให้ไม่เหมือนใครให้ตัวเองและ อบอุ่นรู้สึกเชื้อเชิญให้กับนักแสดงและทีมงานได้อย่างไร? อาจจะมีเหตุผลมากมายที่กลายเป็นข้อจำกัดอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา ที่สำคัญคือเราต้องทำงานหน้างาน 12-16 ชั่วโมงต่อวันโดยประมาณ ดังนั้นควรสร้างสภาพแวดล้อมและพลังงานที่ดีสำหรับการทำงานให้ดีที่สุด ณ จุดที่เราทำงาน ไม่ว่าฐานที่ทำงาน DIT ที่รักของเราจะใหญ่หรือเล็กเพียงไร


ซอฟแวร์
DaVinci Resolve

ถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรมระดับไฮ-เอนด์สำหรับ DIT โดยเฉพาะซึ่งสมาชิกของ IATSE ใช้กันอยู่และใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แต่ DaVinci Resolve จาก Blackmagic Design ( เวอร์ชันฟรี) ก็สามารถทำงานให้สำเร็จ 99% จากงานถ่ายทำแล้ว หรือจะใช้โปรแกรมอื่นๆ ก็ได้ เช่น Silverstack, Pomfort, Lattice, Hedge และอีกมากมาย แค่เพียงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่ใช้สำหรับถ่ายโอนไฟล์จากการ์ดของกล้องได้ถ่ายโอนทุกสิ่งอย่างที่จำเป็นออกมาอย่างครบถ้วน


การตรวจทานเป็นขั้นตอนที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างการถ่ายโอนข้อมูล รูปแบบที่พบมากเรียกว่า MD5 ที่ใช้พื้นฐานตัวเลขทางคณิตศาสตร์และตัวอักษรในการตรวจสอบ ถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นที่ต้องเข้าใจวิทยาศาสตร์มากเท่ากับที่ต้องใช้ประโยชน์จากมันในการทำงานก็เถอะ


Google Drive

และก็ยังมีโซลูชันเวิร์กโฟลว์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการเอกสารและการสื่อสารปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทำ Google Drive ก็เป็นเครื่องมือถูกกฏหมายในการแชร์เอกสารไปมาหระหว่างสมาชิกในทีม สร้างสเปรดชีตรวมถึงปฏิทินเพื่อให้โปรเจกต์ดำเนินไปด้วยความราบรื่น และที่ดีที่สุดก็คือ...ฟรี (แต่จะฟรีอีกไม่นาน)


Finder

วิธีลากและวางไฟล์ใน Finder อาจจะทำให้เครียดได้เนื่องจากไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการถ่ายโอนไฟล์จากการ์ดกล้องเนื่องจากจะไม่มีออฟชั่นการตรวจสอบใดๆ ติดไปด้วย ทุกอย่างเป็นความเสี่ยง เมื่อโคลน / ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจะสามารถใช้ Finder เพื่อทำสร้างสำเนาสำรองได้ แม้ว่าจะมีทางเลือกแนะนำที่ดีกว่านี้ด้านล่าง



อุปกรณ์

การกำเนิด RAW ไฟล์ขนาดใหญ่ทั้ง 4K, 6K และ 8K ( และ 12K และ 16K กำลังมาติดๆ) สิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรก คือ การมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างทันท่วงที เป็นเรื่องไม่สนุกแน่ที่ยังนั่งทำงานอยู่ที่เซ็ตตอนตี 4 ในขณะที่คนอื่นๆ กลับโรงแรมไปหมดแล้วเพราะกำลังรอการประมวลผลฟุตเทจ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้การใช้แล็ปท็อปทำงานบนฟุตเทจ RAW ความละเอียดสูงกลายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โชคดีที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ปัจจุบันก้าวหน้าไปมากจนกระทั่งทำให้ของเล่นราคาแสนแพงในชุดอุปกรณ์นี้ทำงานได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียบง่ายขึ้น


เราใช้คอมพิวเตอร์สองตัวในการตั้งค่าเพื่อทำงาน แต่ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหรือไม่ งานนี้ถ่ายทำด้วยกล้อง Sony F55 บันทึกออกมาทั้ง Sony RAW 4K (Sony F55 SQ/ 23.976 / 4096X2160) และพร็อกซีของกล้อง (XAVC Intra/ 23.976 / 1920X1080) พร้อมกันบนเมโมรีการ์ด AXS และ SxS คอมพิวเตอร์ชุดที่หนึ่งจำเป็นสำหรับจัดการไฟล์ RAW และชุดที่สองสำหรับการจัดการสี

ก่อนที่เราจะลงลึกไปที่ขั้นตอนการทำงาน เรามาดูรายละเอียดในการตั้งค่าฮาร์ดแวร์กันก่อน



คอมพิวเตอร์ 1 (RAW processing)

2018 MacBook Pro: 15-inch, 2.6 GHz i7 และ 16 GB RAM รวมถึงกราฟิคการ์ด Radeon Pro 560X*


*สำคัญที่เราต้องเข้าใจด้วยว่า MacBook Pros 13-inch ไม่ได้มาพร้อมกับ 560X ดังนั้นจึงแตกต่างกับ MacBook Pros 15-inch อย่างรู้สึกได้ และอุปกรณ์ชิ้นใหม่อย่าง e-GPUs จึงมีประโยชน์มาก (ซึ่งรายละเอียดกำลังจะตามมา)


อุปกรณ์ต่อพ่วง
  • Cal Digit T3 : ฮับสำหรับเชื่อมต่อกับ Thunderbolt 3 เพิ่มเติม T3 ให้พลังงานกับแมคบุ๊คโปร มีพอร์ต USB3 จำนวน 5 พอร์ต, พอร์ตแสดงผล, อีเธอร์เน็ต 1 กิกะบิต, เสียง เข้า/ออก, เสียงออฟติคอล (สำหรับตรวจสอบ 5.1) และตัวอ่าน SD การ์ด (ใช้ประโยชน์ในการจับเสียง) และพอร์ต Thunderbolt 3 เพิ่มอีก 2 พอร์ต

  • Blackmagic eGPU: เรายังมีมุมสำหรับ eGPU จาก Blackmagic ที่พัฒนากร่วมกับ Apple ด้วย มี USB3 จำนวน 4 พอร์ตเช่นเดียวกับ HDMI และ Thunderbolt 3 จำนวน 2 พอร์ต นอกจากนี้แล้วยังให้ USB-C เผื่อไว้สำหรับการเข้าถึง Mac จากภายนอก เช่น Radeon Pro 580 GPU กับ เมมโมรี GDD 8 GB ได้มากขึ้น สำหรับพวกเราใช้ MacBook Pro 15-inch 2018 กับ Radeon Pro 560 on-board และ MBPro ตัวที่สองของเราเข้ากันไม่ได้กับ USB-C ดังนั้น แทนที่จะใช้การประมวลผลจากเครื่องหลักให้มากขึ้นก็เปลี่ยนเป็นให้ GPU ทำงานแทน ถ้าเราไม่มี Cal Digit T3 เราก็สามารถใช้ eGPU สำหรับเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อได้เช่นกัน

*หมายเหตุเรื่อง eGPU’s

มีความเข้าใจผิดเล็กน้อยว่า eGPUs จะทำงานร่วมกับ GPU ภายในเครื่องคอมพ์ของเราเหมือนกับ

เรนเดอร์ฟาร์มบางประเภท แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ภาพด้านล่างจะแสดงการทำงานของ internal GPU ที่ screenshot ทางด้านซ้าย ในขณะที่ screenshot ทางด้านขวาเป็นของ eGPU ที่กำลังทำงานอย่างหนักเทียบกับ GPU ภายในเครื่องที่ทำงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตอนนี้ถ้าเราใช้ MacBook Pro 13-inch เพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่มี GPU ภายใน มีแต่ Intel Iris Plus Graphics 640 ติดมากับบอร์ด การมี Rodeon Pro 580 เป็นเรื่องที่ดีในกรณีเช่นนี้ จะเป็นเรื่องสนุกมากหากเราจะทำงานได้เพลินๆ โดยไม่ต้องเป็นห่วงอะไรมาก ถ้าเราไม่มี Cal Digit T3 เราก็ใช้ Blackmagic eGPU มาเชื่อมต่อแทนได้


คอมพิวเตอร์ 2 (Proxies/Color):

2015 MacBook Pro : / 2.7 Ghz dual-core Intel Core i5 processor with 8GB RAM


อุปกรณ์ต่อพ่วง
  • Blackmagic Thunderbolt2 Intensity Shuttle: เพื่อส่งสัญญาณ HDMI ออกไปยังมอร์นิเตอร์ ในส่วนของเรา เราใช้จอ 4K Sony XBR 65 นิ้ว ที่ไม่ได้คาลิเบรตให้ถูกต้องเท่าไหร่ แต่ก็เพียงพอที่จะใช้สำหรับชุดการทำงานของเรา ถ้าอยากจะใช้จอที่ถูกต้องตรงเผงที่เซ็ตแล้วเราก็ต้องซื้อจอใหม่ที่ได้รับการคาลิเบรตมาใหม่ แต่งบเราไม่พอที่จะซื้อได้ขนาดนั้น และท้ายที่สุดก็ต้องลองเครื่อง เช่น ฮาร์แวร์บางชิ้น (เช่น Blackmagic Shuttle ของเรา) เพื่อสัญญาณวิดีโอเอาต์พุตที่ถูกต้อง รวมถึงกราฟิกการ์ดที่เอาต์พุตสัญญาณ HDMI จาก MacBook Pro

สุดท้าย คอมพิวเตอร์ตัวที่ 2 นี้มี Sonnet SxS Card Reader (ซึ่งจำเป็นต้องโหลดไดรฟ์เวอร์) และ Lacie Rugged 2 TB ที่เราจะใช้โยน dailies proxy ให้ผู้กำกับไปนอนดูที่บ้าน หลังจากสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวัน


DIT Workflow

เรื่องสเป็ค ฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ ก็จบกันไปแล้ว เรามาต่อกันเรื่องเวิร์กโฟลว์ที่เราพัฒนาขึ้นมาสำหรับ DIT บนเซ็ตของ CATFIGHT

เราจะเริ่มจากคอมพิวเตอร์ตัวหลักสำหรับการประมวลผลและจัดการฟุจเทจ


คอมพิวเตอร์ 1
  1. รับการ์ด AXS และ RAW จากแผนกกล้อง

  2. ใส่การ์ดกล้องใน AXS card reader

  3. ถ่ายวิดีโอฟุตเทจใส่ในรีโซฟโดยผ่าน Clone Tool (ตรวจสอบอัตโนมัติ)

  • เปิดรีโซฟแล้วไปที่แถบมีเดียพูล ที่ MEDIA tab บนแถบด้านล่าง (จะน่ารำคาญนิดหน่อยที่ค่าเริ่มต้นจะเปิดไว้ที่ EDIT tab)

  • คลิ้กเครื่องมือ Clone Tool ที่แถบบนสุดเพื่อเปิดจ๊อบใหม่ (Add New Job) ตั้งค่าโฟลเดอร์ source และ destination โดยการลากและวางของจาก มีเดีย เบราเซอร์ ด้านซ้าย ตัว SOURCE จะเป็นการ์ดกล้อง และ DESTINATION จะเป็นที่ ที่เราต้องการจะจัดเก็บ มีเดีย RAW ตัวหลักบนฮาร์ดไดรฟ์

  • คล้ิก CLONE และรอให้ฟุตเทจ copy ใส่ฮาร์ดไดรฟ์จนเสร็จ

  • เช็คให้ดีว่ามีเดียทั้งหมดลงมาครบหรือยัง ด้วยวิธีตรวจสอบทีละคลิปกับ คาเมร่ารีพอร์ต ที่ได้มาจากขั้นตอนการถ่ายทำ ถ้ามีอะไรคลาดเคลื่อน หรือ ผิดพลาด ต้องรีบรายงานให้ AD ทราบทันทีเพื่อซ่อมแซมก่อนที่การ์ดกล้องตัวนั้นจะถูกฟอร์แมต

4. หลังจากที่ copy มีเดียเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ผิดพลาดน้อยที่สุดควรจะต้องแบคอัพมีเดียไว้สักสองครั้ง ก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป

  • มีโปรแกรมและแอฟหลายตัวที่จะแบ็คอัพไฟล์ให้เราอย่างมีประสิทธิภาพและอัตโนมัติ ส่วนตัวผู้เขียนใช้ Chronosync ที่สามารถตั้งค่าการแบ็คอัพได้ตั้งแต่ตอนที่เราซิงค์ RAW มีเดียไปยังโฟลเดอร์ของฮาร์ดไดรฟ์หลัก และแบ็คอัพไดรฟ์ได้เพียงหนึ่งคลิ้ก

  • ถ้าไม่อยากเสียเงินสำหรับส่วนนี้เพิ่ม สามาระใช้ Finder เพื่อทำการก็อปปี้ไฟล์และตรวจสอบในขั้นตอนเริ่มต้นในรีโซฟได้ และจะติดไปด้วยตลอดเวลาที่ทำการก็อปปี้ ถึงแม้จะทำผ่าน Finder ก็ตาม

5. เมื่อการ์ดกล้องเต็ม ถ่ายข้อมูลแล้ว แบ็คอัพแล้ว ก็ต้องดับเบิลเช็คไฟล์กับรีพอร์ตกล้องให้เป็นนิสัย ก่อนที่จะส่งการ์ดกล้องกลับไปยังแผนกกล้องเพื่อทำการฟอร์แมต ถ้าการ์ดกล้องถูกฟอร์แมตแล้ว มีเดียก็จะหายสาปสูญไปตลอดกาล การตรวจทานการจัดการไฟล์และการแบ็คอัพจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ก่อนที่จะส่งการ์ดกลับไปยังแผนกกล้อง


ถึงตอนนี้ก็เป็นการสิ้นสุดขั้นตอนการถ่ายทำอย่างหนักหน่วงที่ผ่านมา แต่ผู้เขียนเคยพูดไว้ก่อนที่เราจะเพิ่มองค์ประกอบ (elements) อื่นๆ เข้ามาในเวิร์กโฟลว์การทำงานของเรา ดังนั้นในระหว่างการรอถ่ายข้องมูลครั้งถัดไป ผู้เขียนจะโอนถ่าย RAW คลิปบางส่วนไปให้ on-set colorist ที่ COMPUTER 2 โดยการถ่ายโอนลงไดรฟ์ ( Seagate 4 TB พร้อมกับอะแดพเตอร์ USB 3.1/C) เพื่อให้เขาเริ่มงานสร้าง “ลุค” สำหรับฟุตเทจนั้น เพื่อให้ DP ผู้กำกับได้รับชม และยังสร้าง LUTs สำหรับใช้กับไฟล์ proxy ที่ออกมาจากกล้องได้ด้วย


ในขณะเดียวกัน ที่คอมพิวเตอร์ 2
  1. รับการ์ด SxS จากกล้อง

  2. ใส่ในการ์ดรีดเดอร์ เปิดโปรแกรมรีโซฟ และโอนถ่าย / โคลน ฟุตเทจเหมือนกับที่คอมพิวเตอร์ 1 ทำกับ RAW ฟุตเทจ ยกเว้น destination ที่กลายเป็น Rugged Lacie 2TB แทน

  3. เมื่อโคลนไฟล์ proxies ครบหมดแล้ว ก็ลากมาใส่ในมีเดียพูล ในรีโซฟ เลือกทั้งหมดเพื่อสร้างซีเควนซ์ และทำ dailies จากฟุตเทจชุดนี้

  • จากนั้นก็ไปที่ เพจ dilivery เพื่อเอ็กพอร์ตทั้งหมดออกมาเป็นคลิปเดียว ข้อมูลทั้งหมดจะโอนถ่ายไปยังไดรฟ์ Lacie Rugged 2TB เพื่อส่งให้ผู้กำกับสามารถดูภาพทั้งหมดได้ภายในคลิปเดียว ซึ่งสะดวกกว่าการเปิดดูทีละคลิป จะเป็นการดีมาถ้าฝังลาเบลในแต่ละ ชอต/เทค ให้ด้วย เช่น ชื่อคลิป และไทม์โค้ด หรือโน๊ดสำหรับคลิปพิเศษที่เจาะจงเป็นการเฉพาะ และเป็นการง่ายที่จะค้นหาในภายหลัง

4. เมื่อไฟล์พร็อกซีจากกล้องถึงมือ on-set colorist แล้ว หลังจากนั้นก็จะนำตัวอย่างไฟล์ RAW จากขั้นตอนสุดท้ายของคอมพิวเตอร์ 1 และเริ่มสร้างลุคจาก LUTs ที่ใช้กับพร็อกซี ความเห็นจากตากล้อง ผู้กำกับ เป็นต้น

5. เมื่องานเสร็จ on-set colorist จะแยก LUT ส่งไปให้คอมพิวเตอร์ 1 เพื่อใช้กับคลิป RAW ที่ตรงกัน และจากนี้เราจะสร้างไฟล์ MXF พร็อกซีที่ปรับแต่งแล้ว พร้อมกับลุคที่ได้รับการขัดเกลาแล้วซึ่งดีกว่าไฟล์พร็อกซีตรงๆจากล้อง ที่ถูกสร้างขึ้นไว้ก่อน

  • ในกรณีนี้ เราได้ทดสอบการใช้พร็อกซีเพื่อการตัดต่อ โดยส่งตรงไปที่ Avid เพื่อหลีกเลื่องปัญหาการทรานสโค้ดที่เยอะเกินไป แต่เกิดบัคกับ Avid เนื่องจากเครื่องไม่อนุญาตให้นำไฟล์เข้า ผู้เขียนได้ยินปัญหานี้จากการถ่ายทำจากกล้อง RED บางตัวด้วยเช่นกัน

  • อย่างไรก็ตาม เป็นการคุ้มค่าที่จะเสียเวลาบันทึกพร็อกซีจากกล้องออกมาด้วย เนื่องจาก MXF พร็อกซีที่ปรับแต่งแล้ว อาจจะใช้เวลาเป็นคืนในการทรานสโค้ดให้เสร็จ ดังนั้นการบันทึกพร็อกซึจากกล้องด้วยจีงเป็นการดีที่ผู้กำกำกับและผู้กำกับภาพจะได้เห็น dailies ทันที โดยที่ไม่ต้องรอ RAW ฟุตเทจหรือ MXF proxies ที่ต้องทรานสโค้ดให้เสร็จก่อน


ถึงจุดนี้ พร็อกซี MXF ของเราก็น่าจะถึงมือ on-set editor ผู้ที่จะนำโปรเจกต์ไปเริ่มตัดต่อในโปรแกรม Avid เราไม่มี AE (ผู้ช่วยอิดิตเตอร์) หน้าเซ็ตที่จะช่วยซิงค์/ จัดการ การตัดต่อหน้ากอง ดังนั้นการตัดต่อใดๆ หน้าเซ็ตผู้ช่วยอิดิตเตอร์จะต้องทำใหม่อีกครั้งหลังจากนี้ แต่ก็ยังคุ้มค่าที่จะทำเพราะผู้กำกับจะสามารถเห็นภาพที่ตัดต่อคร่าวๆ ได้ขณะที่อยู่หน้างาน ทั้งฉาก คอสตูม นักแสดงและแผนกอื่นๆ ยังอยู่ สามารถวางแผนการทำงานตามชอตลิสต์ในแต่ละวันได้ และจะเห็นภาพงานตัดต่อคร่าวๆ ได้หน้างานโดยที่ยังไม่ต้องซิงค์เสียง


ตรวจสอบ ตรวจทาน ตรวจแล้วตรวจอีก

ตลอดเวลาของการทำงาน เราจะต้องตรวจทานมากมายหลายสิ่ง เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าไม่มีมีเดียตัวไหนที่หายไปหรือไม่สมบูรณ์ ผู้เขียนมีเช็คลิสต์ของ DIT เอาไว้ตรวจทานงาน เพื่อติดตามปริมาณมีเดียจากการ์ดกล้อง และใช้พื้นที่ฮาร์ดไดรฟ์ไปเท่าใด แต่ก็มีความผิดพลาดให้เห็นอยู่บ่อยๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี เราอาจจะพบว่ามีการ์ดบางตัวเสียหายจากการหมุนก็ต่อเมื่อเปลี่ยนการ์ดชิ้นใหม่ไปแล้ว เรายังต้องตรวจจำนวนชอตบนดิสก์เทียบกับจำนวนชอตที่ถ่ายจากสคริปต์ซูเปอร์ไวเซอร์ แล้วล็อกของกล้องจากแผนกกล้องและ จำนวนคลิปเสียง อีกทั้งยังต้องดับเบิลเช็ค RAW คลิปจากคอมพิวเตอร์ 1 กับพร็อกซีจากกล้องในคอมพิวเตอร์ 2 ที่เราโหลดเข้ามาอีกด้วย ถ้ามีส่วนไหนที่ไม่ตรงกัน เราจะต้องเชิญผู้ช่วยผู้กำกับ 2 มาบอก และต้องคุยกับคนที่จัดการกับปัญหาได้ต่อไปทันที 99% ของเวลาที่ใช้ทั้งหมดจะเป็นเหมือนงานธุระการ แต่ความผิดพลาดจากมนุษย์จะตรวจจับได้จากการตรวจทานแล้ว ตรวจอีกนี่แหละ


หมดวันซะที

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เราต้องล็อคไดรฟ์ไว้ในออฟฟิสหน้าเซ็ต เราอาจจะต้องเก็บแบ็คอัพชุดหนึ่งกลับบ้าน และให้ชุดที่ 2 กับโปรดิวเซอร์ การสร้างแบ็คอัพอย่างนี้มีประโยชน์เพียงแค่ 30% เท่านั้น ถ้าเราเก็บทั้งหมดไว้ด้วยกัน เพราะอย่างน้อยก็เป็นการประกันการผิดพลาดหากฮาร์ดไดรฟ์สักตัวเกิดความผิดพลาดได้ แต่สิ่งที่กลัวจริงๆ ก็คือ ไฟไหม้ น้ำท่วม โขมย การกระทำของพระเจ้า และอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นการแยกแบ็คอัพอย่างน้อย 3 ชุดออกจากกันก็เป็นการ “แบ็คอัพ” จริงๆ


แบ็คอัพของผู้เขียน จะอยู่ในสถานที่ปลอดภัยจากน้ำและไฟไหม้ในบ้าน จนกว่าจะถือกลับไปที่กองถ่ายอีกในวันถัดไป เมื่องานจบ ผู้เขียนจะส่งมอบไดรฟ์ทั้ง 3 ชุด (ตัวหลัก 1 และแบ็คอัพ 2) ให้กับแผนกโปรดักชัน พร้อมกับรายงานกล้อง เสียง และสคริปต์ที่ได้มาตลอดช่วงเวลาการถ่ายทำ


หลังจากนั้นก็ชัตดาวน์ระบบ เก็บข้าวของ ระวังอย่าให้สายพันกัน และอย่าลืมปิดไฟทุกดวงก่อนกลับ


สุดท้ายและท้ายสุด

สิ่งที่เราเจอนี้เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการจัดการมีเดีย เพื่อความสมบูรณ์แบบเพียงงานเดียว สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจในงานนี้คือ มีกล้องมากมาย โคเด็ก ซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ที่ไม่เหมือนกันให้ DIT สัมผัสในงานจริง หวังว่าบทความนี้จะเป็นเวิร์กโฟลว์อีกองค์ประกอบนึง ในเวิร์กโฟล์วมากมาย ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริงกับงาน DIT ครั้งต่อไป ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรืองานใหญ่ก็ตาม


(This traslated article was not made for any commercial. I wish Thai people will understand more with how DIT is.)

4,192 views0 comments

תגובות


bottom of page