บทความนี้แปลจาก บทความของคุณ David Hover, freelance colorist ทำงานอยู่ที่ปารีส
เป็นครูสอน video technology และ VFX ที่ French national film school, La Fémis
และยังเป็น Master Trainer for Blackmagic Design DaVinci Resolve อีกด้วย
เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์นำมาแปลและแบ่งปันกันอ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน
ดาวินชี รีโซฟ ในประเทศไทยเรา
หากท่านใดต้องการอ่านต้นฉบับ ภาษาอังกฤษ
สามารถตามไปอ่านได้ที่
I translated this article of Mr. David Hover, a freelance colorist working in Paris, France. He teaches video technology and VFX at the French national film school, La Fémis, and is a Master Trainer for Blackmagic Design DaVinci Resolve
If you interest to read this in English version please visit directly this url :
And if Mr.David Hover have a chance to see this, I would say millions thanks for a very smart and easy understanding article. I translated this article just for share with the DaVinci Resolve user in Thailand. There is no any commercial things at all.
เรามาเริ่มกันเลย
Color Management ใน ดาวินชีรีโซฟ อาจจะดูซับซ้อนมากไปบ้างเมื่อเทียบกับการใช้ LUTs
ในทางทฤษฎี การใช้ LUTs น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว LUTs อาจจะให้ผลที่คาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น black ที่จมเกินไป หรือ whiteที่สว่างมากเกินไป ดังเช่นตัวอย่างจากการ encoded จากคลิป Arri Alexa:
Log Footage
Arri LUT applied
Color Managed
ถึงแม้ว่าเราจะสามารถปรับแก้ให้คืนมาเป็นปกติได้ แต่สำหรับคัลเลอร์ลิตส์เวลาที่ใช้ไปเป็นเรื่องสำคัญมาก
และเมื่อเราต้องทำงานกับคลิปเป็นร้อยๆ คลิปต่อวัน เราก็จึงต้องการภาพคุณภาพของภาพที่ดีตั้งแต่ตอนถ่ายทำมาเลย เพื่อที่จะได้มีเวลาทำงานด้านสร้างสรรค์ให้มากขึ้นไปด้วย
บทความทั้งสองตอนนี้จะพูดเกี่ยวกับการจัดการตัวจัดการสี (Resolve’s Color Management) ให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันกับการใช้ LUTs ในบทความตอนที่สอง ผมตั้งใจจะนำเสนอวิธีการเพียง 2 อย่างเท่านั้น ซึ่งแต่ละวิธีจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เราจำเป็นต้องเซ็ต Color Management ให้ถูกต้องเช่นเดียวกัน ซึ่งจะอยู่ในบทความบทแรกนี้
บทความนี้อาจจะดูเหมือนยาว แต่ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรในการใช้ Color Management นี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ง่ายมากแค่ต้องทำความเข้าใจเริ่มแรกนิดหน่อยเท่านั้นเอง
พื้นฐาน color space, LUTS และ color management
นี่การอธิบายพื้นฐานอย่างง่าย เพื่อให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นเท่านั้น
ตัวจัดการสี (Color Management) คือ การแปลงคัลเลอร์สเปซจากค่าหนึ่งไปยังอีกค่าหนึ่ง
คัลเลอร์สเปซที่มาจากกล้องตอนถ่ายทำเป็นช่วงที่กล้องสามารถบันทึกได้ (ดูเชิงอรรถท้ายบทความนี้ เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น) กล้องถ่ายภาพทั่วไปจะสามารถเก็บช่วงสีได้น้อยกว่ากล้อง hi-end ที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก เซนเซอร์ของกล้องจากผู้ผลิตแต่ละรายก็จะแตกต่างกันออกไปอีก
รวมถึงเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปตลอดเวลา ก็ยิ่งทำให้สับสนมากขึ้นระหว่างคัลเลอร์สเปซของกล้องทั้งหมดที่มีอยู่
ส่วนคัลเลอร์สเปซที่ใช้แสดงกันอยู่ในจอโทรทัศน์, มอร์นิเตอร์ หรือโปรเจกเตอร์ภาพยนตร์ เป็นต้น จะเป็นช่วงสีและแสงที่ทำขึ้นมาใหม่ได้ คัลเลอร์สเปซของกล้องที่ขายช่วงการรับแสงสีได้มาก แต่คัลเลอร์สเปซสุดท้ายเพื่อการนำมาฉายโชว์จะมีมาตรฐานที่ใช้เหมือนกันทั่วโลก เช่น มาตรฐานคัลเลอร์สเปซสำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์คือ REC709 2.4 และสำหรับโปรเจกเตอร์ภาพยนตร์คือ P3-DCI
ถ้าคัลเลอร์สเปซที่ใช้ในการถ่ายทำและสำหรับแสดงผลเป็นคัลเลอร์สเปซเดียวกันก็ไม่มีอะไรที่ต้องแปลง หรือจัดการสี เช่น ในกรณีที่กล้องทุกตัวถ่ายมาด้วยคัลเลอร์สเปซ REC709 2.4 เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะกล้องโทรศัพท์มือถือ กล้อง DSLRs หรือกล้องระดับมืออาชีพทุกตัว เป็นต้น
ปัญหาก็คือ คัลเลอร์สเปซของกล้องระดับ ไฮ-เอนด์ สามารถบันทึกค่าคัลเลอร์สเปซได้กว้างกว่า REC709 2.4 และ P3-DCI การบันทึกด้วยคัลเลอร์สเปซที่แคบกว่าจะเป็นการสร้างข้อจำกัดในการทำงานมากเกินไป
การแก้ไขก็คือการถ่ายมาเป็น log ไฟล์เพื่อเก็บช่วงแสงและสีให้ได้มากที่สุดเท่าที่กล้องจะถ่ายได้
ฟุตเทจที่เป็น log นี้ ต้องการการแปลงค่าเพื่อให้อยู่ในคัลเลอร์สเปซที่ต้องการใช้งานด้วยการใช้
Look Up Tables (LUTs) หรือ การจัดการสี (Color Management)
LUTs เป็นฟิลเตอร์อเนกประสงค์และใช้ง่าย แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องค่าอินพุตและเอาต์พุตที่แปลงออกมา ค่าที่แปลงจากคัลเลอร์สเปซที่กว้างกว่ามายังคัลเลอร์สเปซที่แคบกว่าก็เหมือนกับการบีบสัญญาณให้แคบลง สัญญาณข้อมูลต้นฉบับจะถูกปัดเศษหายไปหรือตัดไป
Color Management ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ในการคำนวนมากกว่าวิธีทำตารางในการแปลงค่า ดังนั้นสัญญาณทั้งหมดจะยังคงค่าอยู่ตลอดการทำงานเกรดสี
Color Management in Resolve
การจัดการสี หรือ Color Management จะเป็นการจัดการเรื่องสีทั้งโปรเจกต์ ซึ่งต้องการการตั้งค่าใน Project Settings โดยไปที่
Projecting setting—->Color Management
แล้วเปลี่ยน Color Science ที่เมนูดรอป-ดาวน์ เป็น YRGB Color Managed หลังจากนั้นการตั้งค่า อินพุต ไทม์ไลน์ และเอาต์พุต จะเริ่มทำงาน แต่ละตัวจะมีดรอป-ดาวน์เมนู เป็นของตัวเองเพื่อการเลือกคัลเลอร์สเปซที่ต้องการ
การตั้งค่า Input Color colour space
Input Color colour space คือคัลเลอร์สเปซจากกล้องหรือฟุตเทจที่ถ่ายทำมา ในรีโซฟเวอร์ชันก่อนหน้านี้
เราจะต้องเปลี่ยนคัลเลอร์สเปซสำหรับ source clips ตรงนี้
ทุกคลิปใน Media Pool จะถูกต้ังค่าตาม อินพุตคัลเลอร์สเปซของโปรเจกต์ ดังนั้นไม่ว่าเราจะตั้งค่าอย่างไรที่นี่
ก็จะเป็นใช้งานทั้งหมดในโปรเจกต์
ตั้งแต่เวอร์ชัน 15 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ คลิปที่อิมพอร์ตเข้ามาในมีเดียพูลจะถูกตั้งค่าเริ่มต้นให้เป็น REC709 2.4 ดังนั้นคัลเลอร์สเปซของโปรเจกต์จะไม่ได้เปลี่ยนโดยอัตโนมัติเหมือนเดิมแล้ว เราต้องตั้งค่าการใช้งานคัลเลอร์สเปซด้วยตัวเองสำหรับทุกคลิป หมายความว่า
ไม่ต้องตั้งค่าโปรเจกต์เยอะแยะอีกต่อไป เราสามารถเริ่มทำงานโดยใช้ค่าREC709 2.4 ได้เลย
สำหรับการตั้งค่าคัลเลอร์สเปซของคลิปด้วยตัวเองนั้น สามารถคลิกขวาที่คลิปได้ทั้งใน มีเดียพูลหรือไทม์ไลน์ที่หน้า Color Page แล้วเลือกตั้งค่าคัลเลอร์สเปซที่ต้องการใน Input Color Space (ตัวเลือกนี้จะแสดงให้เห็นเฉพาะใน contextual menu เมื่อมีการเปิดใช้ Color Management ในการตั้งค่าโปรเจกต์
การตั้งค่าอินพุตคัลเลอร์สเปซให้ฟุตเทจในมีเดียพูล
ขั้นตอนนี้อาจจะเหมือนขั้นตอนการทำงานที่ใช้ในแลบ แต่ในทางปฏิบัติแล้วเราสามารถเลือกคลิปได้มากเท่าที่ต้องการ แล้วเปลี่ยนคัลเลอร์สเปซได้ภายในครั้งเดียว
ถ้าเรามีไฟล์จากกล้องหลายชนิด เราสามารถแยกออกจากกันด้วยการใช้ Smart Bins โดยการเลือกโคเด็ก สำหรับคลิปที่ถ่ายมาเป็น REC709 2.4 อยู่แล้ว (ซึ่งส่วนใหญ่คลิปพวกนี้จะไม่ใช่ log)
เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลยเนื่องจากคลิปพวกนี้พร้อมสำหรับการทำงานในคัลเลอร์สเปซที่ถูกต้องอยู่แล้ว
การตั้งค่า Output colour space
ขณะที่เราทำงานอยู่ คัลเลอร์สเปซที่ใช้ควรจะตรงกับที่แสดงผล ไม่ว่าจะทำงานประเภทไหนอยู่หรือใช้โปรไฟล์สีใดแสดงผลอยู่ก็ตาม เราต้องคาร์ลิเบรตมอร์นิเตอร์ให้เป็น REC709 2.4 หรือ P3-DCI สำหรับโปรเจกเตอร์ภาพยนตร์ หรือ จอ iMac ก็น่าจะเป็นคัลเลอร์สเปซ sRGB ซึ่งจะทำให้คุณเห็นสิ่งที่คุณทำได้ชัดเจนขึ้น
ถ้าเราคิดจะเปลี่ยนค่าการแสดงผลที่ใช้อยู่กลางคันขณะที่เราเกรดงานอยู่
อาจจะเพราะเราได้เตรียมงานมาก่อนใน iMac
แล้วย้ายไปทำงานต่อที่สตูดิโอมืออาชีพที่ใช้ระบบ REC709 2.4
หลังจากนั้นก็ต้องการดูงานสุดท้ายในคัลเลอร์สเปซ P3-DCI จากโปรเจกเตอร์ภาพยนตร์
เราต้องเปลี่ยนเอาต์พุตคัลเลอร์สเปซใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนจอแสดงผลเพื่อให้เข้ากับค่าสีของจอนั้นๆ
ตัวจัดการสีของดาวินชี รีโซฟ จะดูแลการแปลงค่าที่จำเป็นรวมถึงเกรดที่เราทำไว้ให้ดูเหมือนเดิมในทุกๆการแสดงผลที่เลือก นี่เป็นความงามและประโยชน์หลักๆ ของตัวจัดการสี (Color Management) ใน ดาวินชีรีโซฟ
และก็เช่นกัน เมื่อคุณเกรดงานสำเร็จแล้วและต้องการเป็นเอาต์พุตงาน เพื่อส่งออกงานในมาตรฐานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเกรดงานบนคัลเลอร์สเปซ REC709 2.4 สำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์แล้วต้องการส่งออกอีกเวอร์ชันสำหรับเว็บไซต์ เราสามารถสลับเอาต์พุตคัลเลอร์สเปซเป็น REC709 2.2 หรือ sRGB ได้อย่างง่ายดาย
เอาต์พุตคัลเลอร์สเปซจะแสดงผลบนสโคปด้วย ดังนั้นสัญญาณที่ส่งไปยังสโคปจะเปลี่ยนไปเมื่อเราทำเลือกเอาต์พุตที่แตกต่างกัน นี่เป็นเรื่องปกติที่ไม่มีอะไรต้องกัลวลใจ
การตั้งค่าคัลเลอร์สเปซบนไทม์ไลน์
นี่เป็นคัลเลอร์สเปซที่ดาวินชี รีโซฟใช้ทำงาน และได้พูดถึงส่วนนี้เป็นส่วนสุดท้าย เพราะแตกต่างอย่างมากกับสองส่วนที่ได้กล่าวไปแล้ว
ถ้าเรายังไม่ได้เริ่มทำงานส่วนนี้จะโปร่งแสง เราสามารถเปลี่ยนเป็นคัลเลอร์สเปซของไทม์ไลน์ได้มากเท่าที่ต้องการ และจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในภาพตราบจนเราเริ่มเกรดสี
ขณะที่เกรดสี คัลเลอร์สเปซบนไทม์ไลน์จะมีผลกับทุกสิ่งที่เราทำ เป็นตัวกำหนดความกว้างช่วงสีและคอนทราสที่เราทำงาน และเป็นคัลเลอร์สเปซอ้างอิงสำหรับการควบคุมการทำงานทั้งหมด
อะไรก็ตามที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น gain, contrast, saturation
หรืออะไรก็ตามจะสัมพันธ์กับคัลเลอร์สเปซนี้ทั้งหมด
ถ้ายังไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง คัลเลอร์สเปซอ้างอิง (reference color space) ให้ลองจินตนาการว่าเราได้แก้ค่า lift จาก 0.00 เป็น 0.05
ตัวเลขนี้ต้องการการการอ้างอิงจากบางอย่างที่สมเหตุผล
เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ลองคิดดูว่าถ้าเราเห็นตัวเลขบนกระดาษ แต่ไม่มีตัวต่อท้าย เราจะไม่รู้เลยว่าตัวเลขนั้นเป็นเงินสกุลไหน ดังนั้น เราจึงต้องการทราบสกุลเงินนั้นเพื่อให้รู้มูลค่าที่แท้จริง
และจะแลกเปลี่ยนเป็นสกุลอื่นได้มูลค่าเท่าใด
เช่นเดียวกับรีโซฟ เมื่อเราปรับค่าใดๆ ค่านั้นก็จะอ้างอิงกับคัลเลอร์สเปซของไทม์ไลน์ก่อน และหากเราต้องการเปลี่ยนเป็นคัลเลอร์สเปซอื่นผลที่ได้ก็จะแตกต่างกัน
นี่ป็นตัวอย่างจากฟุตเทจที่ถ่ายเป็น log มา ทั้งสองภาพใช้การเกรดเดียวกันด้วยการลดเกนลงไปที่ 0.40 แต่ภาพด้านซ้ายใช้คัลเลอร์สเปซ Rec709 2.4 ในขณะที่ด้านขวาใช้ Rec709 (Scene) ซึ่งจะสว่างกว่าเนื่องจากค่าแกมมาเป็น 1.9 เกรดที่ใช้เหมือนกันแต่ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันมาก (สังเกตค่าจากสโคป)
ที่สำคัญก็คือ เมื่อเราทำการเกรดไปแล้วไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนคัลเลอร์สเปซกลางคัน เพราะเราอาจจะต้องกลับมาแก้ทุกชอตใหม่อีกรอบก็ได้เรื่องจากสีไม่เหมือนเดิม
หมายความว่าคัลเลอร์สเปซบนไทม์ไลน์เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเกรดงานและความรู้สึกอย่างมาก
เราอาจจะต้องเพิ่มคอนทราสหรือปรับบาลานซ์แตกต่างกันเพื่อให้ได้ผลเหมือนกันจากการเลือกคัลเลอร์สเปซที่แตกต่างกัน
ดังนั้น เราควรจะเลือกไทม์ไลน์คัลเลอร์สเปซแบบไหนดีนะนี่?
คำตอบที่ชัดเจนที่สุดคือให้ใช้คัลเลอร์สเปซที่ต้องการส่งออกเพื่อใช้งาน เช่น Rec709 2.4 สำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์และ P3-DCI สำหรับภาพยนตร์
คัลเลอร์สเปซทั้งสองแบบนี้มีค่า white point ที่แตกต่างกันมากถ้าจะต้องเปรียบเทียบกันใน
ไทม์ไลน์คัลเลอร์สเปซ
white point เป็นตัวเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของสี ดังนั้น ถ้าเราเกรดโดยใช้คัลเลอร์สเปซตัวใดตัวหนึ่งแล้ว สลับมาใช้คัลเลอร์สเปซอีกค่าหนึ่ง เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในสีบางสี อาจจะมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับค่าและรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงที่เราได้เกรดสีไป
คัลเลอร์สเปซเริ่มต้นของดาวินชีรีโซฟ
ถึงเราจะปิดการใช้งาน Color Management อยู่ก็ตาม แต่ดาวินชี รีโซฟ ก็ยังคงต้องการคัลเลอร์สเปซสักค่าเพื่อใช้ในการทำงาน มีเดียที่ใช้งานต้องมีคัลเลอร์สเปซสักอย่างติดมาด้วย ตัวไทม์ไลน์ต้องการสิ่งอ้างอิงสักอย่างเพื่อการทำงาน
อินพุตคัลเลอร์สเปซจะให้ค่าทั้งหมดเป็น Rec709 2.4 เมื่อตัว Color Management ไม่ได้เปิดใช้งาน
รวมถึงไทม์ไลน์และเอาต์พุตคัลเลอร์สเปซด้วย และเมื่อเราเปิดใช้ Color Management
ค่านี้ก็ยังเป็นค่าเริ่มต้นสำหรับมีเดียที่อิมพอร์ตเข้ามาสำหรับรีโซฟตั้งแต่เวอร์ชัน 15 เป็นต้นไป
นั่นคือ Color Management ที่ปิดอยู่จะโปร่งแสงเมื่อเปิดครั้งแรก ไม่มีการแก้ไขอะไรที่เราทำไปจนถึงตอนนี้
เราสามารถเปิดใช้งานได้ตลอดเวลาในเอาต์พุตคัลเลอร์สเปซ
สำหรับการแสดงผลที่แตกต่างไปหรือเพื่อเอกพอร์ตเวอร์ชันที่แตกต่างกัน
เรายังสามารถเปิดใช้งาน อินพุตคัลเลอร์สเปซ สำหรับบางคลิปได้อีกด้วย
เราสามารถมิกซ์และแมชต์ได้อย่างที่เราต้องการ
ด้วยการใช้ Color Management และอาจจะใช้ LUTs ร่วมได้ด้วย
บทสรุป
หลังจากที่อธิบายมามากแล้ว มาสรุปของการตั้งค่ามาตรฐานกัน:
ใน Project Settings > Color Management, สลับ Color Science ไปที่ DaVinci YRGB Color Managed
เก็บเอาต์พุตคัลเลอร์สเปซไว้ที่ Rec709 2.4 ตั้งค่าไทม์ไลนที่ Rec709 2.4 สำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์ และ P3-DCI สำหรับภาพยตร์
ในมีเดียพูล เลือกคลิปทั้งหมดที่มีคัลเลอร์สเปซเดียวกัน แล้วคลิกขวาเพื่อสั่งใช้งานคัลเลอร์สเปซถูกต้อง จากอินพุตคัลเลอร์ สเปซ ทำซำ้อย่างนี้อีกกับคลิปที่คัลเลอร์สเปซแตกต่างกันไป ไม่ต้องทำอะไรกับคลิปที่เป็น Rec709 2.4 อยู่แล้ว (ส่วนใหญ่คลิปพวกนี้จะไม่ใช่ log อยู่แล้ว)
ผลของบทสรุปนี้จะอยู่ที่ตอนต้นของบทความ เราต้องการแก้ไขเพื่อให้ภาพที่ถ่ายมาได้ดูดีที่สุดในบทความตอนที่สอง
A footnote to clarify technical terms for color spaces
บทความนี้อธิบายคัลเลอร์สเปซให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านทาง “สี” และ “คอนทราส”
“ความกว้างสี” หมายความถึงความกว้างของ ฮิว และ saturarion ซึ่งรู้จักกันในชื่อ gamut
“ช่วงคอนทราส” หมายถึง ช่วงแสงจากมืดไปสว่างที่กล้องสามารถบันทึกได้โดยไม่มืดไปหรือสว่างไป (เรียกอีกชื่อว่า dynamic range) เช่นเดียวกับสีที่ใน color management เรียกว่า แกมมา
คัลเลอร์สเปซทั้งสองส่วน gamut และ gamma ดาวินชี รีโซฟได้แยกการควบคุมออกจากกันด้วยชื่อ “color space” และ “gamma” ดังนั้นในที่นี้คำว่าคัลเลอร์สเปซ จึงหมายถึง gamut เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามในบทความและติวเตอร์ทั่วไปมักใช้ color space ให้หมายถึง gamut อย่างเดียว แล้วให้ gamma เป็นอย่างอื่นที่แตกต่างออกไป
Comments