top of page
Writer's pictureyuwarat chanawongse

ADDITIVE & SUBTRACTIVE COLOR MODELS

Updated: Dec 15, 2022



มาทำความเข้าใจรูปแบบของสีแบบ additive (RGB) และ subtractive (CMYK) แบบไหนจะเหมาะกับโปรเจกต์ต่อไปของคุณ

โมเดลสีต่อไปนี้จะช่วยอธิบาย การทำงานของสี ผลกระทบของสีที่มีต่อกัน และทำซ้ำได้ โมเดลสีแบบ subtractive และ additive นี้ มีไว้เพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในงานจากทฤษฏีสี




Additive Color

กล้องถ่ายภาพ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์มอร์นิเตอร์ ต่างก็ใช้โมเดลสีแบบ additive เป็นการอธิบายว่า "แสง" ทำให้เกิดสีได้อย่างไร สีของ additive คือ สีแดง(R), สีเขียว (G) และสีน้ำเงิน (B) หรือเรียกง่ายๆ ว่า RGB

สีแบบ additive นี้ จะเริ่มจากสีดำ และเพิ่มแสงสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินเพื่อสร้างสเปกตรัมของสีที่มองเห็นได้ ยิ่งเพิ่มสีเข้าไปเท่าไหร่ ก็จะเพิ่มแสงสว่างเข้าไปเท่านั้น เมื่อแสงทั้งสามสีผสมกันในสัดส่วนเท่ากัน ผลที่ได้ก็คือ แสงสีขาว

บนอุปกรณ์ดิจิทัล องค์ประกอบของสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินจะแสดงผลโดยการเปิดรับประจุไฟฟ้าเพื่อให้เรืองแสง. องค์ประกอบแต่ละตัวเรียกว่า ซับพิกเซลส์ (subpixels)

เมื่อรวมทั้งสามสีเข้าด้วยกัน เฉดสีที่ต้องการจะถูกสร้างขึ้นในหนึ่งพิกเซล

แต่ละพิกเซลจะประกอบกันคล้ายโมเสคเล็กๆ เพื่อสร้างภาพที่ต้องการ ดังนั้น หน่วยสำหรับวัดกราฟิกดิจิทัล คือ PPI (Pixel Per Inch)

ตัวอย่างการนำแสงแต่ละส่วนมารวมกันเ่ป็นสีจริงบนภาพถ่าย สี RGB ใช้กับภาพที่แสดงบนหน้าจอเป็นหลัก ภาพนี้ถ่ายโดยทีม DINFOS PAVILION




Subtractive Color

ในโมเดลสีแบบ subtractive จะผลิตสีโดยใช้การสะท้อนแสงของเม็ดสี (pigment) โมเดลสีแบบนี้ ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ซิลค์สกรีน งานวาดภาพและงานอื่นๆที่ใช้พิกเมนต์เป็นตัวกลางทำให้เกิดสี

แม่สีในโมเดล subtractive นี้ได้แก่ ไซแอนซ์-ฟ้าเขียว (cyan), เหลือง(yellow), มาเจนตา-แดงม่วง (margenta) และดำ (black) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า CMYK

สีแบบ subtractive นี้จะเริ่มบนกระดาษสีขาวและสิ้นสุดที่สีดำ เมื่อเพิ่มสีเข้าไปผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เครื่องพิมพ์ใช้หมีกสีไซแอนซ์, มาเจนตา และเหลืองเป็นเปอร์เซ็นต์ต่างๆ เพื่อควบคุมปริมาณสีเพื่อให้เกิดการสะท้อนแสงของสีบนกระดาษขาวอย่างที่ต้องการ

ตามทฤษฎีแล้ว การใส่สี ไซแอนซ์, มาเจนต้าและเหลืองเข้าไปในปริมาณที่เท่ากันจะทำให้เกิดสีดำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับได้สีน้ำตาลเข้มเหมือนโคลนแทน

ดังนั้นเพื่อให้ได้สีดำที่แท้จริงจึงต้องเพิ่มเม็ดสี สีดำเข้ามาด้วย

สีดำ เรียกว่า "K" หรือสีหลัก และยังใช้เพื่อเพิ่มความทึบแสงของสี (density)


สีไซแอนซ์, มาเจนต้า และเหลือง จะเฉลี่ยพิมพ์บนแผ่นกระดาษขาวด้วยหัวพิมพ์ตามค่าที่ตั้ง สีที่เกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ มากมายนี้ สร้างเพื่อให้เกิดสีใดสีหนึ่งขึ้นมา การซ้อนทับกันของจุดสีที่ซ้อนทำให้เกิดภาพลวงตาของสีต่างๆ

สีมากมายที่ถูกพิมพ์ซ้อนทับกันเพื่อทำให้เกิดภาพ การวัดค่าสีสำหรับงานพิมพ์ คือ DPI (Dots Per Inch)


ตัวอย่างการใช้เม็ดสีไซแอนซ์ มาเจนตา เหลืองและดำ เพื่อให้ภาพดูเป็นปกติธรรมชาติ เป็นการแสดงการเปลี่ยนแปลงของสี โมเดลของ CMYK ส่วนใหญ่ใช้สำหรับสิ่งพิมพ์หรืองานที่ใช้ขั้นตอนการทำงานคล้ายกัน ภาพนี้ถ่ายโดยทีม DINFOS PAVILION




เมื่อไหร่ควรเลือกใช้ RGB หรือ CMYK

การเลือกโมเดลสีในการทำงานให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มโปรเจกต์เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ถ้าชิ้นงานสุดท้ายที่ต้องการ คือ สิ่งพิมพ์ ต้องแปลงโหมดการทำงานจาก RGB เป็น CMYK

แต่ถ้าผลลัพธ์ของงาน คือ การส่งออกไปฉายยังจอภาพ หรือมอร์นิเตอร์เท่านั้น ให้ใช้โหมดสี RGB

เนื่องจากสีแบบ additive ใช้วิธีการส่องผ่านแสง สีจึงสว่างกว่าแและสร้างสเปกตรัมที่มองเห็นได้กว้างกว่า ทำให้สร้างสรรค์สีได้หลากหลายล้านเฉดสีบนจอภาพ
ส่วนสีแบบ subtractive ใช้วิธีการสะท้อนแสงเพื่อให้เห็นภาพ ดังนั้นสีจะถูกตัดออกในคอนทราส ข้อจำกัดจากเม็ดสีและทินต์นี้ เครื่องพิมพ์จะจำลองสีได้เพียงหลายแสนสีเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ สี RGB บนมอร์นิเตอร์จึงไม่สามารถแปลงให้เท่ากันได้เมื่อพิมพ์บนกระดาษหรือวัสดุพิมพ์อื่นๆ ด้วยระบบสี CMYK


ภาพกราฟิกด้านล่างนี้ ใช้เป็นพื้นฐานอ้างอิงที่สำคัญในการเลือกระหว่างสี additive และสี subtractive เพื่อใช้ในโปรเจกต์ต่อไป




831 views0 comments

댓글


bottom of page